วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2561

ป่าหิมพานต์


     ป่าหิมพานต์ หรือ หิมวันต์ เป็นป่าในวรรณคดีและความเชื่อในเรื่องไตรภูมิตามคติศาสนาพุทธและฮินดู มีความเชื่อว่า ป่าหิมพานต์ตั้งอยู่บนเชิงเขาพระสุเมรุ ป่าหิมพานต์มีเนื้อที่ประมาณ 3,000 โยชน์ (1 โยชน์ เท่ากับ 10 ไมล์ หรือ 16 กิโลเมตร) วัดโดยรอบได้ 9,000 โยชน์ ประดับด้วยยอด 84,000 ยอด มีสระใหญ่ 7 สระคือ

1. สระอโนดาต
2. สระกัณณมุณฑะ
3. สระรถการะ
4. สระฉัททันตะ
5. สระกุณาละ
6. สระมัณฑากิณี
7. สระสีหัปปาตะ
     บรรดาสระใหญ่ทั้ง 7 นั้น สระอโนดาตแวดล้อมไปด้วยภูเขาทั้ง 5 ที่จัดเป็นยอดเขาหิมพานต์ ยอดเขาทุกยอดมีส่วนสูงและสัณฐาน 200 โยชน์ กว้างและยาวได้ 50 โยชน์

ในป่าหิมพานต์นี้เต็มไปด้วยสัตว์นานาชนิด ซึ่งล้วนแปลกประหลาดต่างจากสัตว์ที่มนุษย์ทั่วไปรู้จัก เป็นสัตว์หลายอย่างผสมกันแล้วตั้งชื่อขึ้นใหม่ สัตว์เหล่านี้เกิดจากจินตนาการของจิตรกรไทยโบราณที่ได้สรรค์สร้างภาพจากเอกสารเก่าต่าง ๆ บรรดาสัตว์ทั้งหมดที่อ้างถึงนี้เป็นที่รู้จักในนามของสัตว์หิมพานต์


สัตว์หิมพานต์
     คือ สัตว์ในจินตนาการที่กวี หรือจิตรกร พรรณนาถึง อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์หรือเขาไกรลาส ดังที่ปรากฏในวรรณคดีไตรภูมิพระร่วง และรามเกียรติ์ โดยมีลักษณะของสัตว์หลายชนิดมาประกอบกันในตัวเดียว จำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ สัตว์ทวิบาท (มีสองขา) สัตว์จตุบาท (มีสี่ขา) และจำพวกปลา

จำแนกตามชนิดสัตว์
นก
– อสูรปักษา , อสุรวายุพักตร์ , นกการเวก , ครุฑ , กินรี , เทพปักษี , นกทัณฑิมา
– หงส์ , หงส์จีน , คชปักษา , มยุระคนธรรพ์ , มยุระเวนไตย , สินธุปักษี , สีหสุบรรณ , สุบรรณเหรา
– มังกรสกุณี , นาคปักษี , นาคปักษิณ , นกหัสดี , นกอินทรี , นกสัมพาที , กินนร , สกุณเหรา
– นกเทศ , พยัคฆ์เวนไตย , นกสดายุ , เสือปีก , อรหัน

สิงห์
– บัณฑุราชสีห์, กาฬสีหะ , ไกรสรราชสีห์ , ติณสีหะ
– เกสรสิงหะ , เหมราช , คชสีห์ , ไกรสรจำแลง , ไกรสรคาวี , เทพนรสีห์ , ฑิชากรจตุบท ,โต

สิงห์ผสม
– ไกรสรนาคา, ไกรสรปักษา, โลโต, พยัคฆ์ไกรสร, สางแปรง , สิงหคาวี , สิงหคักคา , สิงหพานร
– สกุณไกรสร , สิงห์ , สิงโตจีน , สีหรามังกร , โตเทพสิงฆนัต , ทักทอ , นรสิงห์

ม้า
– ดุรงค์ไกรสร, ดุรงค์ปักษิณ ,เหมราอัสดร , ม้า , ม้าปีก , งายไส , สินธพกุญชร , สินธพนที
–  ตเทพอัสดร, อัสดรเหรา , อัสดรวิหก

ปลา
– เหมวาริน , กุญชรวารี , มัจฉนาคา , มัจฉวาฬ . นางเงือก , ปลาควาย , ปลาเสือ , ศฤงคมัสยา

ช้าง
– เอราวัณ , กรินทร์ปักษา , วารีกุญชร , ช้างเผือก

กิเลน
– กิเลนจีน , กิเลนไทย , กิเลนปีก

กวาง
– มารีศ , พานรมฤค , อัปสรสีหะ

จระเข้
– กุมภีนิมิตร , เหรา

ลิง
– บิลปักษา, มัจฉาน

วัว-ควาย
– มังกรวิหค , ทรพา ทรพี

แรด
– แรด , ระหมาด

สุนัข

ปู

นาค

มนุษย์
– คนธรรพ์ , มักกะลีผล

นารีผล หรือ มักกะลีผล
     เป็นพรรณไม้ตามความเชื่อจากตำนานป่าหิมพานต์ เป็นพืชที่ออกลูกเป็นหญิงสาว เมื่อผลสุกแล้ว บรรดา ฤๅษี กินร วิทยาธร คนธรรพ์ จะนำไปเสพสังวาส

     ในวรรณคดีระบุว่า มักกะลีผลเมื่อสุกแล้ว จะกลายเป็นหญิงสาวงามอายุราว 16 ปี แต่ที่ศีรษะจะยังมีขั้วติดอยู่ นิ้วมือทั้ง 5 ยาวเท่ากัน ผมยาวสีทอง ตากลมโต คอเป็นปล้อง ไม่มีโครงกระดูก แต่ส่งเสียงได้เหมือนมนุษย์จริง ๆ มักกะลีผลที่ยังอ่อนมีลักษณะเหมือนคนนั่งคู้เข่าอยู่ เมื่อโตขึ้นขาจะเหยียดออกก่อน เมื่อโตเต็มที่จึงเหยียดตัวเหมือนคนยืนตัวตรง บรรดาฤๅษี กินร วิทยาธร คนธรรพ์ ที่ยังมีตัณหาอยู่ จะมาออที่โคนต้น เพื่อรอสุกก็จะแย่งชิงกันเด็ดไปเป็นภรรยา ต้องยื้อแย่งกัน ทำร้ายกันถึงตาย ผู้ที่เหาะได้ก็เหาะขึ้นไปเก็บ ผู้ที่เหาะไม่ได้ก็ใช้ไม้สอยหรือปีนขึ้นไปเก็บ เมื่อมาแล้วก็จะนำไปที่อยู่ของตน ทะนุถนอมระแวดระวังอย่างดีมิให้ใครแย่งเอาไป แต่มักกะลีผลมีชีวิตอยู่ได้เพียง 7 วัน ก็จะเน่าเปื่อยไป

     ซึ่งในวรรณคดีไทยที่มีการกล่าวถึง มักกะลีผล ได้แก่ พระเวสสันดรชาดก, มหาชาติคำหลวง และไตรภูมิพระร่วง


อ้างอิง: https://goo.gl/1YLwam
อ้างอิง: https://goo.gl/AZ8vcW

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น